วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิเคราะห์วิจารณ์

·       คุณค่าด้านภาษา 

   กลวิธีในการแต่ง   ทุกข์ของชาวนาในบทกวี นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดที่ชัดเจน ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน  คือ

ส่วนนำ   กล่าวถึงบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ

 เนื้อเรื่อง  วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์ และของหลี่เซินโดยยกเหตุผลต่างๆ และทรงทัศนะประกอบ เช่น



   ... ชวนให้คิดว่าเรื่องจริงๆ นั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ ลำเลิก”   กับใครๆ ว่า ถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่นๆจะเอาอะไรกิน...



 ส่วนสรุป   สรุปความเพียงสั้นๆ แต่ลึกซึ้ง ด้วยการตอกย้ำเร่องความทุกข์ยากของชาวนา ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหาเช่นนี้  ดังความที่ว่า



“… ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ  เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงยังจะเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป…”



  สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน  โดยทรงใช้การเปรียบเทียบวิธีการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน  ว่า
เทคนิคในการเขียนของหลี่เซินกับของจิตรต่างกันคือ  หลี่เซินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง

          บทกวีของหลี่เซินเป็นบทกวีที่เรียบง่าย  แต่แสดงความขัดแย้งกันอย่างชัดเจน  คือ แม้ว่าในฤดูการเพาะปลูก  ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต  คือชาวนาหรือเกษตรกรเท่าที่ควร  ซึ่งหลี่เซินได้บรรยายภาพที่เห็นเหมือน  จิตรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตร  ภูมิศักดิ์  ใช้กลวิธีการบรรยายเสมือนว่าชาวนาเป็นผู้บรรยาย เรื่องราวให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง
        อย่างไรก็ตาม  แนวคิดของกวีทั้งสองคนคล้ายคลึงกัน  คือ  ต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นสภาพชีวิตของชาวนาในทุกแห่งทุกสมัย  ประสบกับความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน

·       คุณค่าด้านสังคม
       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงเริ่มต้นด้วยการยกบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ซึ่งแต่งด้วยกาพย์ยานี 11 จำนวน 5 บท  มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากของชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนทุกชนชั้น  พระองค์ทรงเห็นด้วยกับบทกวีนี้และยังทรงกล่าวอีกว่าเนื้อหาบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  สอดคล้องกับบทกวีของหลี่เซิน  กวีชาวจีนที่แต่งไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง  แสดงให้เห็นว่าสภาพชีวิตของชาวนาไม่ว่าที่แห่งใดในโลก  จะเป็นไทยหรือจีนจะสมัยใดก็ตาม ล้วนแต่มีความยากแค้นลำเค็ญเช่นเดียวกัน